กว่างเป็นชื่อเรียกด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง มี ๖ ขา กว่างบางชนิดมีเขา กว่างบางชนิดไม่มีเขา กว่างจะชอบกินน้ำหวานจากอ้อย กว่างบางชนิดไม่นิยมนำมาเลี้ยง ส่วนกว่างบางชนิดนิยมเลี้ยงไว้ดูเล่น เช่น กว่างซาง กว่างงวง กว่างกิ กว่างกิอุ และกว่างอี้หลุ้ม ภาคเหนือหรือว่าที่เรียกกันติดปากว่า “ชาวล้านนา” นั่นก็คือภาคเหนือของเรานั่นเอง การหากว่างในภาคเหนือในสมัยก่อนง่ายๆสบาย หรือเรียกอีกอย่างว่าการจับกว่าง
ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม–ตุลาคม เป็นเวลาที่ชาวบ้านในสมัยก่อนมีเวลาว่าง เพราะข้าวที่ปลูกไว้กำลังตั้งท้อง เมื่อว่างจากการงาน ผู้ชายจะสนุกกับการเล่นชนกว่างกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ การหากว่างหาได้จากตามสุมทุมพุ่มไม้หรือป่าในเขตของหมู่บ้านที่มีต้นไม้เครือเถาขึ้นปกคลุม โดยเฉพาะในเวลาเช้าจะหาได้ง่ายกว่าเพราะกว่างยังไม่เข้าไปหลบอยู่ใต้
อีกวิธีหนึ่งคือการตั้งกว่างหรือใช้กว่างล่อ โดยใช้กว่างที่มีขนาดเล็ก เช่น กว่างกิ กว่างแซม หรือจะใช้กว่างตัวเมียที่เรียกว่ากว่างแม่อีหลุ้มก็ได้ ผูกกว่างด้วยเชือกเส้นเล็กฟั่นจากฝ้ายโยงกับอ้อยที่ปอกครึ่งท่อน ใช้ไม้ขอเสียบส่วนบนหรือใช้กล้วยน้ำหว้าใส่ในตะกร้าเล็ก ๆ หรือในกะลา ผูกกว่างขนาดเล็กไว้เป็นกว่างล่ออยู่ข้างใน แล้วนำอ้อยหรือตะกร้าไปแขวนไว้กับกิ่งไม้ในตอนหัวค่ำ โดยหาทำเลที่เป็นชายป่าหรือในบริเวณที่ใกล้กับเนินดิน การแขวนไม่ให้สูงมาก ในตอนกลางคืน กว่างตัวล่อ จะบินมีเสียงดัง ดึงดูดให้กว่างที่บินเวลากลางคืนให้เข้ามาหาเพื่อติดกับโดยมีอ้อยที่เป็นอาหารที่ชอบหลอกล่ออยู่ ถ้าเป็นกว่างโซ้งก็นำไปเลี้ยงไว้เพื่อชนต่อไป ถ้าเป็นกว่างแซมก็เก็บไว้เป็นกว่างล่อ ถ้าเป็นกว่างตัวเมียที่เรียกว่ากว่างแม่อีหลุ้มก็เก็บใส่กระป๋องและใส่อ้อยข้างในเลี้ยงไว้เพื่อใช้ล่อให้กว่างตัวผู้ชนกัน
กว่างมีวงจรชีวิตประมาณ 1 ปี คือช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม กว่างทั้งตัวผู้และตัวเมียจะขึ้นมาจากใต้ดิน เพื่อมาผสมพันธุ์และวางไข่ ซึ่งใช้วงจรชีวิตช่วงนี้ประมาณ 4 เดือน พอเข้าในฤดูหนาว กว่างตัวเมียหลังจากผสมพันธุ์ก็จะขุดดินแล้ววางไข่ ส่วนตัวเองก็จะตาย ไข่ก็ฟักเป็นตัวหนอน เป็นดักแด้อาศัยอยู่ใต้ผิวดินจนถึงต้นฤดูฝนก็จะขุดดินขึ้นมาผสมพันธุ์ดำรงชีวิตสืบลูกหลานต่อไป
ชนิดของกว่างนั้นมีอยู่หลากหลายมากมาย มีทั้งสวยงามและเอาไว้แข่งขันโดยตรงก็มี ลองมาดูกันว่ากว่างมีกี่ชนิด แล้วชาวหมูหิน.คอม จะมีกว่างบ้างไหมหนอ กว่างของใครชนิดไหนลองดูกัน ชนิดของกว่าง กว่างมีหลายชนิดเช่น
กว่างก่อ กว่างชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่ตามต้นไม้ก่อ ลักษณะเด่นชัดของกว่างชนิดนี้คือตามตัวมีขน มีความแข็งแรงและอดทนมากกว่ากว่างที่ใช้กันโดยทั่วไป ทำให้บางคนใช้กระดาษทรายมาขัดกว่างชนิดนี้แล้วนำไปชนกับกว่างชนซึ่งมักจะชนะทุกครั้ง โดยปกติแล้วกว่างก่อนี้ถือว่าเป็นกว่างป่าชนิดหนึ่งที่ไม่แพร่หลาย จึงไม่นิยมนำมาชนแข่งกัน
กว่างกิ หมายถึงกว่างตัวผู้ที่มีเขาข้างบนสั้น(กิแปลว่าสั้น) เขาบนจะออกจากหัวออกมานิดเดียวกว่างกิจะต่อสู้หรือชนกันโดยใช้เขาล่างงัดกัน แต่ไม่สามารถใช้เขาหนีบคู่ต่อสู้ได้ จึงไม่นิยมนำมาใช้เป็นกว่างชน กว่างกิมี 2 ชนิดคือ กว่างกิขี้หมู และ กว่างกิทุ
กว่างงวง : กว่างหน่อ กว่างงวงหรือกว่างหน่อคือด้วงงวงของภาคกลาง กว่างชนิดนี้ชอบกินหน่อไม้หรือยอดอ่อนมะพร้าวมีขนาดเล็ก สีดำ ตรงปากจะมีส่วนยื่นเป็นงวงและไม่มีเขากว่างชนิดนี้ไม่มีการนำมาเลี้ยงเพื่อชนกัน
กว่างซาง : เป็นกว่างขนาดใหญ่ สีของปีกออกไปทางสีครีมหรือสีหม่นมีเขา 5 เขา ข้างบนมี 4 เขา เรียงกันจากซ้ายไปขวาข้างล่างมี 1 เขา ไม่นิยมนำมาชนกันเพราะอืดอาดไม่แคล่วคล่องว่องไว ชนไม่สนุก
กว่างโซ้ง : กว่างโซ้ง ตัวผู้มีเขายาวและหนาทั้งข้างล่างข้างบน ลำตัวสีน้ำตาลแดงกว่า กว่างชนิดนี้มักจะส่งเสียง “ซี่ ๆ” ตลอดเวลา นิยมใช้ชนกัน
กว่างแซม : มีลักษณะคล้ายกับกว่างโซ้ง แต่ตัวเล็กกว่าเล็กน้อย เขาก็สั้นและเรียวเล็ก กว่างชนิดนี้เลี้ยงไว้เป็นคู่ซ้อมหรือให้เด็กๆเล่นกัน
กว่างฮักหรือกว่างรัก : กว่างฮักนี้ตัวมีสีดำเหมือนสีของน้ำรัก รูปร่างและขนาดใกล้เคียงกับกว่างแซม กว่างชนิดนี้ไม่ค่อยใช้ชนกัน เพราะกล่าวกันว่าน้ำอดน้ำทนสู้ กว่างโซ้งไม่ได้ ดังที่ว่า “กว่างฮักน้ำใส ไว้ใจ๋บ่ได้”
กว่างดอยหล่อ : ดอยหล่อเป็นชื่อหมู่บ้านหนึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ กว่างดอยหล่อมีชื่อเสียงในด้านความอดทนแข็งแกร่ง พูดกันว่าเป็นกว่างที่ผ่านความลำบากในการขุดหินขุดทรายขึ้นมา จึงมีความอดทนเป็นเลิศ เมื่อใครได้กว่างดอยหล่อมาเลี้ยงไว้ชน จึงมั่นใจได้ว่ามีกว่างที่ดีและอดทน เมื่อถึงฤดูเล่นกว่างมาถึง นักเล่นกว่างจึงแสวงหากว่างดอยหล่อมาเลี้ยง บางคนถึงกับเดินทางไปที่หมู่บ้านดอยหล่อเพื่อหากว่างชนดอยหล่อก็มี
กว่างแม่อีหลุ้ม : คือกว่างตัวเมียซึ่งไม่มีเขา กว่างชนิดนี้บางแห่งเรียก กว่างแม่อู้ด,กว่างแม่มูดหรือ กว่างแม่อีดุ้ม กว่างตัวเมียนี้จะมีทั้งชนิดตัวเล็กและตัวใหญ่ มีทั้งสีน้ำตาลและสีดำ กินจุกว่ากว่างตัวผู้ ริมปากมีลักษณะเป็นฝาสำหรับขุด ซึ่งจะขุดอ้อยให้เห็นแอ่งเป็นขุยเห็นได้ชัด ปกติจะใช้กว่างแม่อีหลุ้มนี้เป็นตัวล่อให้กว่างตัวผู้ชนกัน กว่างตัวเมียนี้เมื่อผสมพันธุ์แล้วจะขุดรูลงดินเพื่อวางไข่แล้วจึงตาย
กว่างหนวดขาว : ลักษณะเหมือนกับกว่างโซ้ง แต่ต่างกันที่ตรงหนวดจะมีสีขาว เชื่อกันว่าเป็นพญากว่าง กว่างหนวดขาวนี้จะชนจะสู้กับกว่างทุกขนาด กว่างหนวดดำจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้เพราะเกรงกลัวอำนาจของพญา บางครั้งกำลังชนกันพอรู้ว่าเป็นพญากว่าง กว่างหนวดดำหรือกว่างธรรมดาก็จะถอดหนี คือไม่ยอมเข้าหนีบด้วย มีนักเล่นกว่างบางคนหัวใส เมื่อได้กว่งหนวดขาวมาก็พยายามยอมหนวดของกว่างให้เป็นสีดำเหมือนกับกว่างทั่วไป โดยใช้ยางไม้กับมินหม้อผสมกัน แต้มหนวดขาวให้เป็นดำเมื่อนำไปชนบางครั้งสีที่ย้อมหนวดหลุดออกอีกฝ่ายจับได้ว่าใช้กว่างหนวดขาวปลอมมาชน เกิดทะเลาะกันก็มี
กว่างหาง : มีลักษณะคล้ายกับกว่างโซ่ง แต่ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงหรือสีของน้ำครั่งกว่างชนิดนี้ใช้ชนได้เหมือนกันแต่โดยทั่วไปแล้วคนมักจะกล่ากันว่ากว่างหางจะไม่เก่งเท่ากว่างโซ้ง
กว่างก่อ กว่างชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่ตามต้นไม้ก่อ ลักษณะเด่นชัดของกว่างชนิดนี้คือตามตัวมีขน มีความแข็งแรงและอดทนมากกว่ากว่างที่ใช้กันโดยทั่วไป ทำให้บางคนใช้กระดาษทรายมาขัดกว่างชนิดนี้แล้วนำไปชนกับกว่างชนซึ่งมักจะชนะทุกครั้ง โดยปกติแล้วกว่างก่อนี้ถือว่าเป็นกว่างป่าชนิดหนึ่งที่ไม่แพร่หลาย จึงไม่นิยมนำมาชนแข่งกัน
กว่างกิ หมายถึงกว่างตัวผู้ที่มีเขาข้างบนสั้น(กิแปลว่าสั้น) เขาบนจะออกจากหัวออกมานิดเดียวกว่างกิจะต่อสู้หรือชนกันโดยใช้เขาล่างงัดกัน แต่ไม่สามารถใช้เขาหนีบคู่ต่อสู้ได้ จึงไม่นิยมนำมาใช้เป็นกว่างชน กว่างกิมี 2 ชนิดคือ กว่างกิขี้หมู และ กว่างกิทุ
กว่างงวง : กว่างหน่อ กว่างงวงหรือกว่างหน่อคือด้วงงวงของภาคกลาง กว่างชนิดนี้ชอบกินหน่อไม้หรือยอดอ่อนมะพร้าวมีขนาดเล็ก สีดำ ตรงปากจะมีส่วนยื่นเป็นงวงและไม่มีเขากว่างชนิดนี้ไม่มีการนำมาเลี้ยงเพื่อชนกัน
กว่างซาง : เป็นกว่างขนาดใหญ่ สีของปีกออกไปทางสีครีมหรือสีหม่นมีเขา 5 เขา ข้างบนมี 4 เขา เรียงกันจากซ้ายไปขวาข้างล่างมี 1 เขา ไม่นิยมนำมาชนกันเพราะอืดอาดไม่แคล่วคล่องว่องไว ชนไม่สนุก
กว่างโซ้ง : กว่างโซ้ง ตัวผู้มีเขายาวและหนาทั้งข้างล่างข้างบน ลำตัวสีน้ำตาลแดงกว่า กว่างชนิดนี้มักจะส่งเสียง “ซี่ ๆ” ตลอดเวลา นิยมใช้ชนกัน
กว่างแซม : มีลักษณะคล้ายกับกว่างโซ้ง แต่ตัวเล็กกว่าเล็กน้อย เขาก็สั้นและเรียวเล็ก กว่างชนิดนี้เลี้ยงไว้เป็นคู่ซ้อมหรือให้เด็กๆเล่นกัน
กว่างฮักหรือกว่างรัก : กว่างฮักนี้ตัวมีสีดำเหมือนสีของน้ำรัก รูปร่างและขนาดใกล้เคียงกับกว่างแซม กว่างชนิดนี้ไม่ค่อยใช้ชนกัน เพราะกล่าวกันว่าน้ำอดน้ำทนสู้ กว่างโซ้งไม่ได้ ดังที่ว่า “กว่างฮักน้ำใส ไว้ใจ๋บ่ได้”
กว่างดอยหล่อ : ดอยหล่อเป็นชื่อหมู่บ้านหนึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ กว่างดอยหล่อมีชื่อเสียงในด้านความอดทนแข็งแกร่ง พูดกันว่าเป็นกว่างที่ผ่านความลำบากในการขุดหินขุดทรายขึ้นมา จึงมีความอดทนเป็นเลิศ เมื่อใครได้กว่างดอยหล่อมาเลี้ยงไว้ชน จึงมั่นใจได้ว่ามีกว่างที่ดีและอดทน เมื่อถึงฤดูเล่นกว่างมาถึง นักเล่นกว่างจึงแสวงหากว่างดอยหล่อมาเลี้ยง บางคนถึงกับเดินทางไปที่หมู่บ้านดอยหล่อเพื่อหากว่างชนดอยหล่อก็มี
กว่างแม่อีหลุ้ม : คือกว่างตัวเมียซึ่งไม่มีเขา กว่างชนิดนี้บางแห่งเรียก กว่างแม่อู้ด,กว่างแม่มูดหรือ กว่างแม่อีดุ้ม กว่างตัวเมียนี้จะมีทั้งชนิดตัวเล็กและตัวใหญ่ มีทั้งสีน้ำตาลและสีดำ กินจุกว่ากว่างตัวผู้ ริมปากมีลักษณะเป็นฝาสำหรับขุด ซึ่งจะขุดอ้อยให้เห็นแอ่งเป็นขุยเห็นได้ชัด ปกติจะใช้กว่างแม่อีหลุ้มนี้เป็นตัวล่อให้กว่างตัวผู้ชนกัน กว่างตัวเมียนี้เมื่อผสมพันธุ์แล้วจะขุดรูลงดินเพื่อวางไข่แล้วจึงตาย
กว่างหนวดขาว : ลักษณะเหมือนกับกว่างโซ้ง แต่ต่างกันที่ตรงหนวดจะมีสีขาว เชื่อกันว่าเป็นพญากว่าง กว่างหนวดขาวนี้จะชนจะสู้กับกว่างทุกขนาด กว่างหนวดดำจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้เพราะเกรงกลัวอำนาจของพญา บางครั้งกำลังชนกันพอรู้ว่าเป็นพญากว่าง กว่างหนวดดำหรือกว่างธรรมดาก็จะถอดหนี คือไม่ยอมเข้าหนีบด้วย มีนักเล่นกว่างบางคนหัวใส เมื่อได้กว่งหนวดขาวมาก็พยายามยอมหนวดของกว่างให้เป็นสีดำเหมือนกับกว่างทั่วไป โดยใช้ยางไม้กับมินหม้อผสมกัน แต้มหนวดขาวให้เป็นดำเมื่อนำไปชนบางครั้งสีที่ย้อมหนวดหลุดออกอีกฝ่ายจับได้ว่าใช้กว่างหนวดขาวปลอมมาชน เกิดทะเลาะกันก็มี
กว่างหาง : มีลักษณะคล้ายกับกว่างโซ่ง แต่ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงหรือสีของน้ำครั่งกว่างชนิดนี้ใช้ชนได้เหมือนกันแต่โดยทั่วไปแล้วคนมักจะกล่ากันว่ากว่างหางจะไม่เก่งเท่ากว่างโซ้ง
การเลี้ยงกว่าง
เมื่อได้กว่างโซ้งที่ถูกใจมาแล้ว นักนิยมกว่างจะเลี้ยงดูกว่างอย่างดีโดยหาอ้อยที่หวานจัดมาปอกเปลือกให้ ส่วนที่ตัวกว่างก็ใช้ด้ายสีแดงมาฟั่นยาวประมาณหนึ่งคืบมาผูกที่ปลายเขาด้านบนเพื่อกันกว่างบินหนี ที่โคนลำอ้อยมีตะขอกันไม่ให้จิ้งจกเลียตีนกว่าง เพราะถ้าจิ้งจกเลียตีนกว่างแล้ว กว่างจะเกาะคอนได้ไม่มั่นคง นอกจากนี้ก็จะต้องหมั่นฝึกซ้อม การฝึกนี้จะใช้ไม้สี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ปลายแหลมเรียกกันว่า “ไม้ผั่นกว่าง” เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ ตื่นนอนตอนเช้าก็จะนำกว่างไปออกกำลังคือให้บินโดยใช้เชือกผูกจากเขากว่าง กว่างก็จะบินวนไปวนมา เมื่อเห็นว่าออกกำลังพอสมควรแล้ว จะนำกว่างไป “ชายน้ำเหมย” คือนำกว่างไปราดใบข้าวที่เปียกน้ำค้างในตอนเช้า หรือบ้างก็เคี้ยวอ้อยแล้วพ่นน้ำหวานใส่กว่าง ทำอย่างนี้ทุกวันกว่างจะแข็งแรง
เมื่อได้กว่างโซ้งที่ถูกใจมาแล้ว นักนิยมกว่างจะเลี้ยงดูกว่างอย่างดีโดยหาอ้อยที่หวานจัดมาปอกเปลือกให้ ส่วนที่ตัวกว่างก็ใช้ด้ายสีแดงมาฟั่นยาวประมาณหนึ่งคืบมาผูกที่ปลายเขาด้านบนเพื่อกันกว่างบินหนี ที่โคนลำอ้อยมีตะขอกันไม่ให้จิ้งจกเลียตีนกว่าง เพราะถ้าจิ้งจกเลียตีนกว่างแล้ว กว่างจะเกาะคอนได้ไม่มั่นคง นอกจากนี้ก็จะต้องหมั่นฝึกซ้อม การฝึกนี้จะใช้ไม้สี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ปลายแหลมเรียกกันว่า “ไม้ผั่นกว่าง” เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ ตื่นนอนตอนเช้าก็จะนำกว่างไปออกกำลังคือให้บินโดยใช้เชือกผูกจากเขากว่าง กว่างก็จะบินวนไปวนมา เมื่อเห็นว่าออกกำลังพอสมควรแล้ว จะนำกว่างไป “ชายน้ำเหมย” คือนำกว่างไปราดใบข้าวที่เปียกน้ำค้างในตอนเช้า หรือบ้างก็เคี้ยวอ้อยแล้วพ่นน้ำหวานใส่กว่าง ทำอย่างนี้ทุกวันกว่างจะแข็งแรง
ส่วนอุปกรณ์ของการชนกว่างนั้นก็ไม่มีอะไรมาก เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่น่าทึ่งมาก เพราะมีอยู่หลายแบบใครมีแบบไหนบ้างมาลองดู
1.ไม้คอน คือ ท่อนไม้กลมที่เป็นสำหรับให้กว่างชนกันทำด้วยต้นปอหรือท่อนไม้ฉำฉา ยาวประมาณ 80–100 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เซนติเมตรตรงกลางเจาะรูสำหรับใส่กว่างตัวเมียจากด้านล่างให้โผล่เฉพาะส่วนหลังพอให้มี “กลิ่น” ส่วนด้านล่างใช้เศษผ้าอุดแล้วปิดด้วยฝาไม้ที่ทำเป็นสลักเลื่อนเข้าอีกทีเพื่อกันไม่ให้กว่างตัวเมียถอยตัวออก คอนชนิดนี้มีไว้สำหรับฝึกซ้อมให้กว่างชำนาญในการชน
1.ไม้คอน คือ ท่อนไม้กลมที่เป็นสำหรับให้กว่างชนกันทำด้วยต้นปอหรือท่อนไม้ฉำฉา ยาวประมาณ 80–100 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เซนติเมตรตรงกลางเจาะรูสำหรับใส่กว่างตัวเมียจากด้านล่างให้โผล่เฉพาะส่วนหลังพอให้มี “กลิ่น” ส่วนด้านล่างใช้เศษผ้าอุดแล้วปิดด้วยฝาไม้ที่ทำเป็นสลักเลื่อนเข้าอีกทีเพื่อกันไม่ให้กว่างตัวเมียถอยตัวออก คอนชนิดนี้มีไว้สำหรับฝึกซ้อมให้กว่างชำนาญในการชน
ไม้คอนอีกรูปร่างหนึ่งทำด้วยแกนปอ หรือไม้ชนิดอื่นก็ได้ที่เนื้อไม้ไม่แข็งมาก เส้นผ่าศูนย์กลบางประมาณ 10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ส่วนหัวและท้ายทำเป็นเดือย บางแห่งเดือยยาว 3 เซนติเมตร บางแห่ง 6 เซนติเมตร ตรงกลางด้านบนเจาะรูขนาด 2 เซนติเมตร ด้านล่างตัดเป็นปาก ยาวประมาณ 9 เซนติเมตร ตัดลึกเข้าไปประมาณครึ่งหนึ่งของไม้คอน มีสลักทำให้ถอดออกได้เป็นฝาปิด ส่วนที่เหลืออีกครึ่งเจาะเป็นโพรงเข้าไปหารูเล็กเพื่อเป็นช่องนำกว่างตัวเมียใส่ ให้หลังของกว่างตัวเมียโผล่ออกรูคอนด้านบน ด้านล่างอุดด้วยเศษผ้าแล้วใช้ฝาปิดไว้ แบ่งระยะจากรูตรงกลางออกไปข้างละเท่า ๆ กัน ทำรอยเครื่องหมายกั้นไว้ ไม้คอนจะใช้เป็นที่ฝึกกว่างหรือให้กว่างนี้ชนกัน
2.ไม้ผั่น : ไม้ผั่นกว่าง : ไม้ผัด: ไม้แหล็ดหรือไม้ริ้ว ไม้ผัดนี้จะทำด้วยไม้จิงหรือไม้ไผ่ก็ได้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งเซนติเมตร ยาวประมาณ 8 เซนติเมตรลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมปลายบัวหรือปลายแหลม ส่วนโคนเหลาให้เล็กเป็นที่สำหรับจับถือตรงใกล้ที่จับนั้นจะบากลงและเหลาให้กลมแล้วเอาโลหะมาคล้องไว้อย่างหลวม ๆ เวลา “ผั่น” หรือปั่นให้ผั่นให้หมุนกับคอนนั้น จะมีเสียง“กลิ้ง ๆ”ตลอดเวลาไม้ผั่นนี้ใช้ผั่นหน้ากว่างให้วิ่งไปข้างหน้าเขี่ยข้างกว่างให้กลับหลังเขี่ยแก้มกว่างให้หันซ้ายหันขวา ถ้ากว่างไม่ยอมสู้ก็จะใช้เจียดแก้มกว่างให้ร้อนจะได้สู้ต่อไป ในขณะที่ต้องการให้กว่างคึกคะนองหรือเร่งเร้าให้กว่างต่อสู้กันนั้นก็จะใช้ไม้ผั่นนี้ การผั่นใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วกลางหมุนไปมากับคอนให้เกิดเสียงดัง
2.ไม้ผั่น : ไม้ผั่นกว่าง : ไม้ผัด: ไม้แหล็ดหรือไม้ริ้ว ไม้ผัดนี้จะทำด้วยไม้จิงหรือไม้ไผ่ก็ได้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งเซนติเมตร ยาวประมาณ 8 เซนติเมตรลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมปลายบัวหรือปลายแหลม ส่วนโคนเหลาให้เล็กเป็นที่สำหรับจับถือตรงใกล้ที่จับนั้นจะบากลงและเหลาให้กลมแล้วเอาโลหะมาคล้องไว้อย่างหลวม ๆ เวลา “ผั่น” หรือปั่นให้ผั่นให้หมุนกับคอนนั้น จะมีเสียง“กลิ้ง ๆ”ตลอดเวลาไม้ผั่นนี้ใช้ผั่นหน้ากว่างให้วิ่งไปข้างหน้าเขี่ยข้างกว่างให้กลับหลังเขี่ยแก้มกว่างให้หันซ้ายหันขวา ถ้ากว่างไม่ยอมสู้ก็จะใช้เจียดแก้มกว่างให้ร้อนจะได้สู้ต่อไป ในขณะที่ต้องการให้กว่างคึกคะนองหรือเร่งเร้าให้กว่างต่อสู้กันนั้นก็จะใช้ไม้ผั่นนี้ การผั่นใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วกลางหมุนไปมากับคอนให้เกิดเสียงดัง
ลักษณะกว่งที่นำมาชนนั้นต้องมีลักษณะที่ดี แข็งแรง เช่นกว่างโซ่ง ลักษณะกว่างโซ่งที่ดีนั้นต้องมีหน้ากว้าง กางเขาออกได้เต็มที่เขาล่างจะยาวกว่าเขาบนนิดหน่อยถ้าเขาล่างยาวกว่าเขาบนก็จะเรียกว่า “กว่างเขาหวิด” ถือว่าหนีบไม่แรงไม่แน่นกว่างชนที่ดีนั้นส่วนหัวต้องสูง ท้ายทอยลาดลงเป็นสง่า แต่ถ้าท้ายทอยตรงโคนเขาบนเป็นปมไม่เรียบ ถือว่าเป็นกว่างไม่ดี กว่างที่ดีต้องเป็นกว่างที่ฉลาดสอนง่าย ก่อนที่จะนำกว่างมาชนกันนั้น จะต้องนำกว่างมาเทียบขนาดและสัดส่วนที่เรียกว่า เปรียบคู่ กันเสียก่อน เมื่อตกลงจะให้กว่างของตนชนกันจริง ๆ แล้ว เจ้าของกว่างจะต้องขอกว่างของฝ่ายตรงกันข้ามมาตรวจดูเสียก่อนว่าไม่มีกลโกง
ในการชนกว่างแต่ละครั้งมักจะมีการวางเดิมพันกันเพื่อความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น กว่างที่ชนะก็ทำให้เจ้าของมีหน้ามีตา แต่ถ้ากว่างแพ้แล้วอยู่ที่เจ้าของว่าจะเลี้ยงต่อหรือปล่อยไปตามธรรมชาติ แต่ส่วนใหญ่แล้วชาวล้านนาเค้ามักจะปล่อยกว่างคืนสู่ธรรมชาติ เพราะจะได้มีกว่างในปีต่อๆไปและประเพณีชนกว่างของชาวล้านนานี้จะได้อยู่สืบทอดกันไปชั่วกาลนานไงครับและการปล่อยกว่างคืนสู่ธรรมชาตินั้นชาวล้านนาต้องทำเป็นธรรมเนียมเลยก็ว่าได้ เพราะล้านนาเป็นที่เดียวที่มีกว่างเป็นต้นกำเนิด หากใครที่เคยได้ยินเรื่องกว่างนี้ก็คงพอเข้าใจเพราะล้านนาเท่านั้นที่มีที่เดียวในโลก และต้นกำเนิดของกว่างนั้นอยู่ที่จังหวัดน่าน เมืองลับแลของภาคเหนือ ที่อำเภอท่าวังผาเค้าจะมีประเพณีการชนกว่าง มีทุกๆปีมาแต่นมนาน หากใครอยากไปก็ยกมือขึ้นได้เลย
ข้อมูลจาก//...http://moohin.com/trips/chiangmai/kwang/