สัตว์เลี้ยงแปลกๆ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์ประหลาด สัตว์หายาก Pet Lover สัตว์ที่นิยมเลี้ยง ที่มาสัตว์เลี้ยงต่างๆ Animal lover สารคดีสัตว์ การเลี้ยง สัตว์แปลกๆที่นิยมเลี้ยง สัตว์เลี้ยงและ สัตว์ป่าหลายชนิด Animal in Action,The most popular pets are dogs and cats.We Love Animal
มาร่วมอนุรักษ์ช้างไทยกันเถอะ
ลักษณะทั่วไปของช้าง
ธรรมชาติของช้าง ช้างทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นช้างพันธุ์เอเชียหรือพันธุ์แอฟริกา มีความเป็นอยู่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ ชอบอยู่เป็นฝูง ช้าง ฝูงหนึ่งมักประกอบด้วยช้าง ๕ - ๑๐ เชือก แต่ละฝูงจะมีช้างพลายตัวหนึ่งเป็นหัวหน้า ซึ่งมักจะเป็นตัวที่แข็งแรงที่สุดของ ฝูง มีหน้าที่คอยเป็นผู้ปกปักรักษา และป้องกันอันตรายให้แก่ช้างในฝูงของตน และเป็นผู้นำฝูงไปหาอาหารในแหล่งที่ มี ความอุดมสมบูรณ์ ช้างป่าที่หากินอยู่ตัวเดียว ถ้าไม่ใช่ช้างแก่ซึ่งเดินตามเพื่อนฝูงไม่ทัน มักจะเป็นช้างเกเรที่ถูก ขับออกจากฝูง เรียกว่า "ช้างโทน" ช้างโทนนี้มีนิสัยดุร้าย ซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่ผู้พบเห็นได้ ช้างไทยหรือช้างเอเชียมีนิสัยชอบอากาศเย็น และไม่ชอบแสง แดดจัด ฉะนั้น เมื่อเรานำมันมาฝึกใช้งาน เช่น งานชักลากไม้ เราจึงใช้งานช้างเฉพาะตอนเช้าตั้งแต่ ๖.๐๐-๑๒.๐๐ น. ส่วนตอน บ่ายต้องให้มันหยุดพักผ่อน นอกจากนั้น เมื่อเราใช้งานมันติดต่อกันไป ๓ วัน เราจะต้องให้มันหยุดพักงานอีก ๑ - ๒ วัน แล้ว จึงให้มันทำงานใหม่ ทั้งนี้ก็เพราะว่า ช้างเป็นสัตว์ที่มีโรคภัยเบียดเบียนได้ง่าย ถ้าเราใช้งานมันหนักเกินไป มันอาจ จะเกิดเจ็บป่วยขึ้นในฤดูที่มีอากาศร้อนจัด คือ ระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม
นิสัยของช้าง ช้างเอเชียหรือช้างไทยโดยทั่วๆไป เมื่อนำมาฝึกให้เชื่องเพื่อใช้งานได้แล้ว จะมีนิสัยฉลาด สุภาพ และรักเจ้าของ เว้นแต่ใน บางขณะ เช่น ในเวลาตกมันซึ่งก็เป็นเพียงในชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ในเวลาตกมันช้างจะมีนิสัยดุร้าย จะทำร้ายช้าง ด้วยกันเองหรือทำร้ายเจ้าของ ตลอดจนสิ่งของที่อยู่ใกล้ ๆ เมื่อพ้นระยะตกมันแล้ว นิสัยดุร้ายจะหายไปเอง ช้างบางเชือกอ าจจะมีนิสัย เกเรมาตั้งแต่กำเนิด แต่ก็ไม่มากนัก โดยปกติช้างเป็นสัตว์ที่ตื่นกลัวสิ่งของหรือสัตว์ที่มันไม่ค่อยพบเห็น โดยเฉพาะ ช้างเป็นสัตว์ที่มีความรู้สึกทางกลิ่นได้ดีมาก และมักจำกลิ่นที่มันเคยชินได้ดี ในด้านความฉลาดของช้างเอเชียหรือช้างไทยนั้น จะเห็น ได้จากการที่มันแสดงละครสัตว์หรือในด้านการไม้ มันได้แสดงความเฉลียวฉลาดของมันออกมา ในด้านการรักลูก มันรู้จักส่ง เสียงดุลูกหรือใช้งวงตีเมื่อลูกของมันซน นอกจากนั้น ยังมีผู้เคยพบว่า มันยืนเฝ้าศพลูกของมันที่ฝังดินไว้เป็นเวลา ๒-๓ วันก็มี
การกินการนอน การนอนหลับโดยปกติของช้าง มีระยะเวลาสั้น ประมาณ ๓-๔ ชั่วโมง เวลานอนของมันอยู่ในระหว่าง ๒๓.๐๐-๐๓.๐๐ น. ของวันรุ่งขึ้น ลักษณะการนอน ของช้างเมื่อหลับสนิท จะนอนตะแคงลำตัวข้างใดข้างหนึ่งลงกับพื้น ช้างมีอาการหาวนอนและนอนกรนเช่นเดียวกับมนุษย์ ถ้าหากพบช้างนอนหลับในเวลากลางวัน ควรสันนิษฐานไว้ก่อนว่า ช้างเชือกนั้นคงไม่สบายหรือมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เนื่องจาก ช้างมีเวลาน้อยนั่นเอง มันจึงใช้เวลาที่เหลืออยู่ในการกินอาหารและเดินท่องเที่ยวไปในป่า เวลาเดินไปก็กินหญ้าไป ตลอดทาง กล่าวกันว่า ช้างเชือกหนึ่งจะกินอาหาร และหญ้าคิดเป็นน้ำหนักประมาณ ๒๕๐ กิโลกรัมใน ๑ วัน เนื่องจากช้างไม่มีกระเพาะพิเศษ สำหรับเก็บอาหารไว้สำรอง แล้ว สำรอกออกมาเคี้ยวเอื้องในยามว่าง เหมือนดังเช่นวัวควาย แต่ช้างก็มีวิธีเก็บสำรองอาหารไว้กินในระหว่างเดินทาง หรือระหว่างทำงาน เช่น เอางวงกำหญ้าไว้ในขณะเดินทาง หรือเอาหญ้าและอาหารเหน็บไว้ที่ซอกงาของมัน
การตกลูก ช้างพังหรีอช้างตัวเมียที่สมบูรณ์ จะมีลูกได้เมื่อมีอายุระหว่าง ๑๕-๕๐ ปี ในประเทศพม่ามีผู้เคยพบช้างพัง ซึ่งมีอายุเพียง ๙ ปี ๑ เดือน ตกลูกออกมาแม้ว่าลูกช้างที่เกิดจากแม่ช้างที่มีอายุน้อยตัวนี้จะมีอวัยวะครบสมบูรณ์ แต่ก็ไม่สามารถเลี้ยง ให้มีชีวิตรอดได้ ฉะนั้นเรื่องนี้จึงถือว่าเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งนาน ๆ จะเกิดขึ้นสักครั้ง การผสมพันธุ์ของช้างระหว่างช้างตัวผู้กับช้าง ตัวเมีย เป็นไปในลักษณะเช่นเดียวกับม้า วัว และควาย คือ ช้างตัวผู้ใช้ขาหน้าคร่อมหลังของช้างตัวเมีย การตั้งท้องของ ช้างมีระยะเวลาระหว่าง ๒๑-๒๒ เดือน เนื่องจากตัวของช้างมีลักษณะใหญ่ อ้วนกลมอยู่แล้ว ฉะนั้น ในระยะที่มันตั้งท้องจะสังเกตได้ยาก บาง ทีเจ้าของจะทราบก็ต่อเมื่อช้างตกลูกออกมาแล้ว ดังนั้น จึงต้องอาศัยสังเกตวิธีอื่นประกอบ เช่น เต้านมคัดมีน้ำนมไหล หรือช้างไม่ยอมลุกนั่งตามคำสั่งและไม่ยอมทำงาน ในกรณีที่ช้างอยู่เป็นฝูงหรือเจ้าของช้างมีช้างหลายเชือก แม่ช้าง ที่ท้องแก่จะหาเพื่อนช้างพังที่สนิทไว้ช่วยเหลือในเวลาตกลูก ช้างพังที่คอยช่วยเหลือนี้เรียกกันว่า "แม่รับ" จะคอย ช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา เมื่อช้างแม่ถึงกำหนดใกล้จะคลอดลูก มักจะไปหาที่ซึ่งมีหญ้าอ่อนหรือพื้นดินนุ่ม เพื่อมิให้เป็นอันตรายแก่ลูกที่จะ คลอดออกมา เพราะช้างแม่ส่วนมากจะยืนคลอดลูก โดยย่อขาหลังต่ำลงมาลูกอาจจะตกลงพื้นดินในระยะสูงพอควร ลูกซึ่ง คลอดออกมาจะมีถุงใส ๆ เป็นเยื่อบาง ๆ หุ้มอยู่ แม่รับจะเข้าไปช่วยฉีกถุงเยื่อที่หุ้มออกจากตัวลูกช้าง ถ้าไม่มีแม่ รับ แม่ช้างจะฉีกถุงเยื่อนั้นเอง
แม่ช้างเชือกหนึ่งอาจจะมีลูกได้ ๓-๔ ตัว ตลอดชีวิตของมัน โดยปกติแล้วแม่ช้างจะตกลูกเพียงครั้งละ ๑ ตัว และจะมีลูกห่าง กันประมาณ ๓ ปี ทั้งนี้แล้วแต่สภาพแวดล้อม เช่น ช้างป่าที่มีชีวิตเป็นอิสระย่อมมีลูกได้สม่ำเสมอกว่าช้างบ้านที่ถูกจองจำ และต้องทำงานหนักอยู่ตลอดเวลา
การฝึกลูกช้าง ลูกช้างที่สมบูรณ์ เมื่อมีอายุประมาณ ๔-๕ ขวบ จะมีร่างกายใหญ่โตพอที่จะฝึกให้ทำงานต่าง ๆ ได้ประกอบกับเป็นระยะเวลาที่ลูก ช้างหย่านมแล้ว การฝึกลูกช้างที่มีอายุน้อย ทำได้ง่ายกว่าฝึกลูกช้างที่มีอายุมาก ลูกช้างที่โตเกินไปมักจะทน ต่อการถูกบังคับและทนต่อการฝึกสอนไม่ได้ จึงอาจจะตายในระยะฝึกสอนได้ง่ายกว่าลูกช้างที่มีอายุน้อย ๆ การฝึกสอนลูกช้างแบ่งออกเป็น ๒ ระยะ
การฝึกสอนเบื้องต้น
ใช้เวลาประมาณ ๑ เดือน เริ่มตั้งแต่วันลูกช้างเข้าคอกที่เตรียมไว้ สถานที่ที่ฝึกสอนควรเป็นสถานที่ร่มเย็นและใกล้น้ำ เพราะ จะต้องให้ลูกช้างฝึกอาบน้ำด้วย ในระยะ ๑ เดือน ที่ลูกช้างได้รับการฝึกเบื้องต้นนี้ ลูกช้างจะได้รับการสอนให้รู้จัก การใส่ปลอกขาหน้าหรือ "จะแคะ" การมีคนขึ้นขี่หลังการยกเท้าหน้าให้คนขี่ขึ้นลง การเดินไปยังที่ต่าง ๆ โดยมีคนขี่คอคอยบังคับ การอาบน้ำ ฯลฯ ในระหว่างการฝึกนี้ผู้ฝึกจะต้องนำลูกช้างเข้าออกคอกอยู่ตลอดเวลา เพื่อทำความคุ้นเคยกับคนขี่คอ ซึ่ง จะเป็น "ควาญ" ในเวลาต่อไป
การฝึกขั้นสุดท้าย
คือ การฝึกงานด้านทำไม้ซึ่งเป็นการฝึกทีละขั้นให้ลูกช้างรู้จักกับการใส่เครื่องอุปกรณ์ สำหรับใช้ในการชักลาก ไม้ ฝึกชักลากไม้แบบต่าง ๆ ถ้าเป็นลูกช้างตัวผู้ที่มีงาก็ฝึกการยกไม้ด้วยงา ฝึกการทำไม้บนเขา ทำไม้ในลำห้ว ย ฝึกให้ทำงานร่วมกับช้างอื่น ตลอดจนฝึกให้ชินกับเสียงของเครื่องยนต์ที่ใช้ในการทำไม้ การฝึกลูกช้างในการทำไม้นี้ต้องใช้เวลานาน ๓-๔ ปี เพราะ ต้องค่อย ๆ ฝึกทีละน้อย และให้ลากไม้ท่อนเล็ก ๆ ไปพลางก่อน ความจริงการฝึกขั้นสุดท้ายนี้อาจจะใช้เวลาเพียง ๑ หรือ ๒ ปีก็พอ แต่เมื่อฝึกไปแล้วช้างยังตัวเล็กอยู่ ยังใช้ทำงานหนักไม่ได้ จึงทำให้ดูคล้ายกับว่าการฝึกในระยะนี้ต้องใช้เวลานาน
กำลังงานของช้าง ช้างจะเริ่มทำงานได้เต็มที่ เมื่อมีอายุประมาณ ๒๕ ปี และเมื่ออายุประมาณ ๕๐ ปี ช้างจะมีกำลังถอยลงและจะทำงานเบา ๆ เช่น ลากไม้เล็ก ๆ หรือขนของต่อไปได้จนถึงอายุประมาณ ๖๐ ปี ต่อจากนั้นเจ้าของก็ให้หยุดทำงาน แล้วปล่อยให้กินหญ้าอยู่ ตามลำพัง โดยมีการติดตามดูแลบ้างเป็นบางครั้งบางคราว กำลังความเข้มแข็งของช้างเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับมนุษย์ โดยเปรียบ เทียบจากหน่ายน้ำหนักที่เท่ากันแล้ว ช้างอ่อนแอกว่ามนุษย์ถึง ๑๐ เปอร์เซนต์ แต่ม้ากลับแข็งแรงกว่ามนุษย์ถึง ๒๕ เปอร์เซนต์ จะเห็น ได้ว่า ช้างนั้นแม้ตัวใหญ่โตก็จริง แต่กำลังที่ใช้ทำงานยังอ่อนแอกว่ามนุษย์เสียอีก ช้างเชือกหนึ่ง ๆ นั้น ลากไม้ครั้งหนึ่ง ๆ ได้มีน้ำหนักไม่เกิน ๒ ตัน
การตกมันของช้าง โดยปกติช้างที่มีร่างการสมบูรณ์ และมีอายุอยู่ในเกณฑ์ผสมพันธุ์ได้ สามารถตกมันได้ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นช้างตัว ผู้หรือตัวเมีย ดังนั้น อายุของช้างที่อยู่ในเกณฑ์ตกมันอยู่ระหว่าง ๒๐ - ๔๐ ปี ช้างเชือกใดมีอาการตกมัน แสดงว่าช้างเชือกนั้น กำลังมีความสมบูรณ์ที่สุด และกำลังมีความต้องการทางเพศอย่างเต็มที่ โดยต่อมที่ขมับทั้ง ๒ ข้าง จะบวมขึ้นขนาดเท่าไข่ไก่จน เห็นได้ ชัด เมื่อต่อมที่ขมับบวมขึ้นแล้ว รูของต่อมซึ่งมีขนาดโตประมาณ ๐.๕ เซนติเมตร ก็จะเปิดกว้างออก มีน้ำเมือกสีขาวข้นไหลออกมา เราเรียกอาการนี้ว่า "ตกมัน" น้ำเมือกหรือมันที่ไหลออกมานี้ มีกลิ่นเหม็นสาบรุนแรงมาก นอกจากอาการต่อมที่ขมับบวมและมี น้ำมันไหลออกมาแล้ว ถ้าช้างที่ตกมันนั้นเป็นช้างตัวผู้ อวัยวะสืบพันธุ์ของมันจะแข็ง มีน้ำปัสสาวะไหลออกมาอย่างกะ ปริบกะปรอย หรืออาจจะมีน้ำอสุจิไหลออกมาเป็นบางครั้งบางคราวด้วย ในขณะที่ช้างกำลังตกมันนั้น มันจะแสดงอาการดุร้าย และทำร้ายสิ่งที่ขวาง หน้าทุกสิ่งทุกอย่าง นอกจากนั้นมันยังมีความจำเสื่อม มันจึงอาจทำร้ายควาญหรือเจ้าของของมันเองด้วย อาการตกมันนี้ ถ้าเกิดกับช้างพังหรือช้างตัวเมีย จะมีความรุนแรงหรือแสดงอาการดุร้ายน้อยกว่าช้างตัวผู้ อาการตกมันจะเป็นอยู่ประมาณ ๒-๓ สัปดาห์ จึงค่อย ๆ ทุเลาลง
ลักษณะช้างที่ดี ช้างก็เหมือนมนุษย์ ย่อมมีลักษณะที่มองดูสวยงามหรือไม่สวยงาม ช้างที่มีลักษณะดี ต้องมีรูปร่างใหญ่โต แข็งแรง ศีรษะ โต แก้มเต็ม หน้าผากกว้าง มีดวงตาแจ่มใส มีขาแข็งแรง เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ลักษณะของหลังสูงตรงกลางเล็กน้อย ลาดไปทาง หางอย่างสม่ำเสมอลักษณะของหลังเช่นนี้เรียกว่า "แปก้านกล้วย" ถือกันว่าเป็นลักษณะของช้างดีที่สุด เวลายืนศีรษะจะเชิดขึ้นมอง ดูสง่า ถ้าเป็นช้างงาต้องมีงาใหญ่แข็งแรง และยื่นขนานคู่กันออกมา ไม่บิดหรือถ่างห่างจากกันมากเกินไป ลักษณะของชาย ใบหูควรเรียบไม่ฉีกขาด การสังเกตดูช้างว่ามีสุขภาพดีหรือไม่นั้น มีข้อสังเกตอย่างง่าย ๆ คือ ช้างนั้นจะยืนแกว่งงวงแล ะพับหูไปมา อยู่เสมอ และเดินหาหญ้าหรืออาหารอื่นกินอยู่ตลอดเวลา ที่เล็บเท้าต้องมีเหงื่อซึมออกมาจากโคนเล็บ ซึ่งมองเห็นได้ง่ายจา กรอยเปียกของฝุ่นที่เกาะเท้าช้าง ทั้งนี้เนื่องจากช้างไม่มีต่อมเหงื่อที่ผิวหนังเหมือนมนุษย์เรา ฉะนั้น มันจึงใช้โคนเล็บเป็ นที่ระบายเหงื่อ หรือ ระบายความร้อนออกจากร่างกาย
ช้างเผือก คำว่า ช้างเผือก คำว่า ช้างเผือก เป็นคำสามัญที่คนทั่วไปเรียกช้าง ซึ่งมีผิวหนังเป็นสีชมพูแกมเทา อันเป็นสีที่ผิด แปลกไปจากสีของผิวหนังช้างธรรมดา (ปกติเป็นสีเทาแกมดำ) โดยไม่คำนึงถึงลักษณะอื่น ๆ ประกอบด้วย ฉะนั้น คำว่าช้างเผือกตามความ หมายที่เราเข้าใจกันจึงอาจจะเป็นทั้งช้างซึ่งมีมงคลลักษณะครบหรือไม่ครบก็ได้ เพื่อมิให้เกิดความสับสนในเรื่อง นี้ ทางราชการจึงได้กำหนดศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อช้างซึ่งมีลักษณะพิเศษขึ้นใหม่ ตามพระราชบัญญัติรักษาช้างป่า พุทธศักราช ๒๔๖๕ (ราช กิจจานุเบกษา เล่ม ๓๘ หน้า ๗๕ วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๔๖๔) มาตรา ๔ โดยระบุไว้ว่า "ช้างสำคัญ" ให้พึงเข้าใจว่า ช้างที่มีมงคลลักษณะ ๗ ประการ คือ ตาขาว เพดานขาว เล็บขาว ขน ขาว พื้นหนังขาว (หรือสีคล้ายหม้อใหม่) ขนหางยาว อัณฑะโกศขาว (หรือสีคล้ายหม้ อใหม่) ส่วน "ช้างสีประหลาด ให้พึงเข้าใจว่า ช้างที่มีมงคลลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดใน ๗ อย่าง ที่กล่าวไว้ในเรื่องช้างสำคัญจากความ หมายตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ ชี้ให้เห็นชัดว่า "ช้างสำคัญ" คือ ช้างเผือกที่มีลักษณะครบถ้วน สำหรับช้าง เผือกตามความหมายของคนทั่ว ๆ ไป ซึ่งส่วนใหญ่สังเกตจากลักษณะสีของผิวหนังนั้น อาจไม่ใช่ช้างสำคัญหรือช้างเผือกที่มี ลักษณะครบถ้วนก็ได้ เพราะสีของช้างเป็นแต่เพียงมงคลลักษณะข้อ ๑ ในจำนวนมงคลลักษณะ ๗ ข้อ ซึ่งเข้าเกณฑ์ที่เรียกว่า "ช้างสีประหลาด" เท่า นั้น ดังนั้น ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ จึงไม่ใช้คำว่า "ช้างเผือก" เพราะเกรงว่าจะเข้าใจสับสนกัน
ลักษณะสำคัญของช้างเผือก
เป็นช้างพลายรูปงาม งาขวา - ซ้ายเรียวงาม กายสีดอกบัวแดง ขนตัวขุมละสองเส้น ขนโขมด สีน้ำผึ้งโปร่ง ขนบรรทัดหลังสีน้ำ ผึ้งโปร่งเจือแดง ขนหูสีขาว ขนหางสีน้ำผึ้งเจือแดงแก่ ตาขาวเจือเหลือง เพดานปากขาวเจือชมพู อัณฑะโกศขาวเจือชมพู เล็บขาว เจือเหลืองอ่อน หูและหางงามพร้อม เสียงเป็นศัพท์แตรงอน
โรคของช้าง แม้ว่าช้างจะมีรูปร่างใหญ่โต แม้ว่าช้างจะมีรูปร่างใหญ่โต แต่ก็อาจเป็นโรคได้ เช่นเดียวกับสัตว์อื่น ช้างที่ ถูกกักขังและอยู่ใกล้ชิดสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ มีโอกาสติดโรคจากสัตว์เลี้ยงได้ง่าย ส่วนช้างที่ทำงานในป่า มักจะเกิดเป็นฝี และโรคผิวหนังพุพองกันมาก ฝีอาจเกิดขึ้นได้ง่ายจากการถูกหนามทิ่มตำผิวหนัง แล้วเกิดเป็นหนองบวมพองขึ้นมา ผิวหนัง ที่พุพองเป็นตุ่ม นั้น ส่วนใหญ่เกิดจากแมลงวันป่าชนิดหนึ่ง มาไข่ไว้ตามรูขนของช้าง เมื่อไข่ของแมลงวันกลายเป็นตัวอ่อน ตัวอ่อนจะเข้า ไปอาศัยในขุมขน แล้วดูดเลือดช้างกินเป็นอาหาร ช้างที่เป็นโรคนี้จะสังเกตเห็นผิวหนังเป็นตุ่มมีหนอง เมื่อแกะตุ่มออกจะพบตัวหนองกลม ๆ ขนาดเท่า เมล็ดถั่วเขียวฝังตัวอยู่ เมื่อตัวหนอนแก่ก็จะกลายเป็นแมลงวันป่ามารบกวนช้างอีก แล้วทิ้งคราบไว้ในรูขนที่มัน อาศัยอยู่ ทำให้ผิวหนังเกิดอักเสบเป็นตุ่มมีหนองขึ้น วิธีป้องกันโรคนี้ที่ดีที่สุด คือ ให้ช้างได้อาบน้ำบ่อย ๆ ชาวบ้านได้ ใช้เครือสะบ้าทุบเป็น ฝอยถูตัวช้างเวลาอาบน้ำ เพื่อฆ่าตัวอ่อนของแมลงวันชนิดนี้ นับว่าได้ผลดีพอสมควร โรคที่ช้างเป็นกันมากอีกชนิด หนึ่ง คือ โรคพยาธิฟิลาเรีย (filaria) โรคนี้เกิดจากยุงในป่า ซึ่งไปกัดสัตว์ที่เป็นโรคนี้มาแล้วมากัดช้าง พยาธิที่ติดมากับแมลงจะเข้าไปใน เส้นโลหิตและเจริญเติบโตในเส้นโลหิตของช้าง แล้วเข้าไปอุดตันในหัวใจ จนทำให้ช้างถึงแก่ความตาย
ข้อมูลจาก//...http://pirun.ku.ac.th/~b521030266/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B0.html