Pages

รู้จัก อเมริกัน พิทบูลเทอร์เรีย ให้มากกว่านี้!!

ประวัติของสุนัขพันธุ์อเมริกันพิทบูล
ในช่วงศตวรรษที่19 ผู้ที่นิยมสุนัขในประเทศอังกฤษ ไอร์แลนด์ และสก๊อตแลนด์ ได้เริ่มที่จะผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างบูลด๊อกตัวที่เหนียวที่สุดกับ สุนัขเทอร์เรียตัวที่กล้าหาญ ที่สุด และดีที่สุดเข้าด้วยกัน ผลจากการผสมข้ามสายนี้ในไม่ช้าก็รู้กันว่าพวกมันคือ สุนัข บูล แอนด์ เทอร์เรีย(Bull-and-Terrier) หรือพวกมันก็คืออเมริกันพิทบูลนั่นเอง เพื่อต้องการที่ จะได้สุนัขที่มีลักษณะของการล่าเหยื่อ(เกมส์)ของสุนัขพันธุ์เทอร์เรีย กับ ความแข็งแกร่ง และความปราดเปรียวที่เหมือนกับสุนัขพันธุ์บูลด๊อก ผลที่ออกมานั้นก็คือสุนัขที่ประกอบไป ด้วยความเป็นนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ แข็งแรง ทรหด อดทน และอ่อนโยนกับคนที่มันรัก ผลของ การอพยพปรากฏว่ามีคนได้นำสุนัข บูล แอนด์ เทอร์เรีย นี้ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้คนที่เป็นเกษตรกรและเจ้าของฟาร์มปศุสัตว์ได้มองเห็นความสามารถ ของสุนัขพันธุ์ อเมริกันพิทบูลและได้ใช้มันในการปกป้องทรัพย์สิน
เป็นสุนัขที่ใช้สำหรับการไล่ล่า ต้อนฝูง ปศุสัตว์(วัว หมู) รวมทั้งเลี้ยงเอาไว้เป็นเพื่อนสมาชิกในครอบครัว ปัจจุบันนี้สุนัขพันธุ์อเมริกัน พิทบูลแสดงความสามารถได้ในหลากหลายด้านด้วยกัน อย่างเช่นการฝึกให้ เชื่อฟังคำสั่ง ความสามารถในการสะกดรอย การแข่งขันเรื่องของความเร็ว (Agility) เป็นสุนัขอารักขา ความเฉลียวฉลาดในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับสายพันธุ์นี้โดยเฉพาะเช่น การลากน้ำหนัก
ยูไนเต็ด เคนนัล คลับ (ยูเคซี) เป็นผู้ขึ้นทะเบียนสุนัขพันธุ์อเมริกันพิทบูลเป็นรายแรก โดยที่ ซี แซท เบ็นเน็ทท์เป็น ผู้ก่อตั้งยูไนเต็ด เคนนัล คลับ(ยูเคซี) เขาได้มอบหมายให้ ยูเคซี เป็นผู้ที่จดทะเบียนเป็นรายแรกโดยการนำพิทบูลของตนเองมากำหนดเป็นมาตรฐาน ภายใต้ชื่อ เบ็นเน็ทท์ ริง ในปี 1898
 รูปร่างลักษณะทั่วไป(General Appearance)
สุนัขพันธุ์อเมริกันพิทบูล มีขนาดรูปร่างปานกลาง มีสัดส่วนที่พอดี ขนสั้นเรียบ เป็นมันเงางามและมีกล้ามเนื้อที่เด่นชัดมาก สุนัขสายพันธุ์นี้เต็มไปด้วยพละกำลังและมีความปราดเปรียวเป็นอย่างมาก และมีรูปร่างที่ค่อนข้างยาวกว่าส่วนสูง แต่ตัวเมียอาจมีรูปร่างที่ยาวกว่าตัวผู้ ความยาวของขาหน้า(วัดจากข้อศอกถึงพื้น) ประมาณครึ่งหนึ่งของความสูงของสุนัขทั่วไป หัวมีความยาวปานกลาง กว้าง ส่วนกะโหลกนั้นจะแบนเรียบและค่อนข้างจะกว้าง ประกอบด้วยขากรรไกรที่แข็งแรงและกว้างใหญ่ หูจะมีขนาดที่เล็กจนถึงปานกลาง หูตั้ง และบางทีก็อาจจะมีลักษณะที่เป็นธรรมชาติ(ไม่ได้ตัดหู) หรืออาจจะตัดหูหรือไม่ตัดหูก็ได้ หางสั้นชี้ลง โคนหางใหญ่ และเรียวเล็กลงไปถึงปลายหาง อเมริกันพิทบูลมีทุกสี และมีทุกลาย สุนัขพันธุ์นี้จะต้องปรากฏให้เห็นถึงความแข็งแกร่ง กระฉับกระเฉง สง่างามและไม่ควรที่จะเทอะทะมากไปจนกล้ามเนื้อทั้งหลายขัดขวางต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย ความสมดุลนั้นควรจะมีสัดส่วนที่เหมาะสมต่อกันและกัน สุนัขพันธุ์นี้ไม่ควรที่จะผอมจนเห็นกระดูก
 บุคลิกลักษณะ (Characteristics)
ลักษณะเฉพาะของสุนัขพันธุ์อเมริกันพิทบูลก็คือ ความแข็งแกร่ง มีความเชื่อมั่นในตัวของมันเอง และมีชีวิตที่กระหายใคร่รู้ต่อทุกสิ่งที่อยู่รอบๆตัวมัน สุนัขพันธุ์นี้ชอบให้คนดูแลเอาใจใส่ และมีความกระตือรือร้นมาก สุนัขพันธุ์อเมริกันพิทบูลเป็นเพื่อนกับทุกคนที่อยู่ในครอบครัวได้เป็นอย่างดี และมีความรักเด็ก เนื่องจากสุนัขพันธุ์นี้ ส่วนใหญ่มักจะแสดงความก้าวร้าวกับสุนัขทั่วไป และด้วยความแข็งแรงที่แสดงให้เห็นถึงการมีพละกำลังในรูปร่างของพวกมัน ดังนั้นสุนัขสายพันธุ์นี้จึงต้องการเจ้าของที่สามารถอบรมหรือฝึกให้เชื่อฟังคำสั่งได้ ธรรมชาติของสุนัขพันธุ์นี้มีความปราดเปรียว กระฉับกระเฉงโดยธรรมชาติ ความว่องไวของสุนัขพันธุ์นี้ทำให้พวกมันเป็นหนึ่งในสุนัขที่มีความสามารถในการปีนข้ามรั้ว อเมริกันพิทบูลไม่เหมาะที่จะเลือกไว้เป็นสุนัขอารักขา(Guard dog) เนื่องจากพวกมันค่อนข้างมีอัธยาศัยที่ดีกับคนแปลกหน้า นิสัยดุดันกับคนไม่ใช่บุคลิกลักษณะของพวกมัน สุนัขพันธุ์นี้มีความสามารถในหลากหลายด้าน เพราะมีความฉลาดมากเป็นพิเศษ รวมทั้งความกระตือรือร้นในการที่จะทำงาน สุนัขพันธุ์อเมริกันพิทบูลมีความสามารถในการทำสิ่งต่างๆได้เป็นอย่างดี หากแต่ว่าข้อบกพร่องของสุนัขสายพันธุ์นี้ ได้ตัดคะแนนความนิยมและความสามารถของมัน
หัว (Head)
หัวของสุนัขอเมริกันพิทบูลนับได้ว่ามีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น หัวของอเมริกันพิทบูลจะต้องมีกะโหลกใหญ่ และกว้าง ซึ่งให้ความรู้สึกได้ถึงความมีพละกำลังที่แข็งแรง แต่ว่าหัวของสุนัขพันธุ์นี้ไม่ได้สัดส่วนกับขนาดรูปร่างของมัน เมื่อมองดูจากด้านหน้า หัวของอเมริกันพิทบูลจะมีลักษณะคล้ายลิ่ม กว้าง ทู่ แต่เมื่อมองดูจากด้านข้าง กะโหลกและปากของมันจะขนานกัน และมีตำแหน่งจรดกันที่จุดลึกปานกลาง มีส่วนเว้าบนขอบเบ้าตา(รอยเว้าแหว่งมีได้เฉพาะบริเวณข้างลูกตา) แต่ไม่เด่นมาก หัวมีส่วนประกอบที่ชัดเจน ผสมผสานกับความแข็งแกร่ง ได้อย่างสวยงามซึ่งเป็นบุคลิกลักษณะเฉพาะตัว
 หัวกะโหลก (Skull)
กะโหลกที่ใหญ่ แบน หรือค่อนข้างกลม ลึก และกว้างระหว่างตา เมื่อมองจากข้างบน กะโหลกจะเรียวไปด้านหน้า กล้ามเนื้อที่แก้มเห็นได้อย่างเด่นชัด แต่จะต้องไม่มีรอยเหี่ยวย่นบนหน้าผาก เมื่อใดที่สุนัขพันธุ์นี้อยู่ในระหว่างใจจดใจจ่อ(ตั้งใจ) รอยย่นจะปรากฏขึ้นบนหน้าผากได้ ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่น่าสนใจของสุนัขสายพันธุ์นี้
ปาก (Muzzle)
ปากกว้างและลึก โดยมีความเรียวเล็กน้อยที่ปลายจมูก และลาดลงเล็กน้อยใต้ตา ความยาวของปากสั้นกว่าความยาวของกะโหลก ในอัตราส่วนประมาณ2:3ที่ซึ่งขนานกัน เส้นบนของปากเป็นเส้นตรง ส่วนกรามล่างนั้นจะกว้างและลึก ริมฝีปากสะอาดและตึง
ข้อบกพร่อง (Faults) ปากแหลมเหมือนปากนก ปากเล็ก และกรามล่างไม่แข็งแรง
 ฟัน (Teeth)
อเมริกันพิทบูลมีฟันที่สมบูรณ์ในช่วงระยะห่างที่เท่ากัน ฟันขาวที่สบกันแบบกรรไกร
ข้อบกพร่อง(Faults): ฟันบนและล่างไม่สบกันแบบกรรไกรกัน
ข้อบกพร่องที่ร้ายแรง(Serious Faults): ฟันล่างยื่นล้ำฟันบนออกมาหรือฟันบนยื่นล้ำฟันล่างออกมามากเกินไป (Undershot or Overshot) ปากเบี้ยว ฟันขาด (ไม่ครบชุด)

จมูก (Nose)

จมูกใหญ่และมีรูจมูกที่กว้าง อาจมีจมูกได้หลายสี
 ตา (Eyes)
ตามีขนาดปานกลาง มีชีวิตชีวา กลมเหมือนถั่วอัลมอนด์ ตาอยู่ในตำแหน่งดี ต่ำกว่ากะโหลก ตาทุกสียอมรับได้ ยกเว้นตาสีฟ้า ที่ซึ่งถือว่าเป็นข้อบกพร่องที่ร้ายแรง และไม่ควรมองเห็นเยื่อของเปลือกตาที่ปลิ้นออกมา
ข้อบกพร่อง: ตาสีฟ้า
ข้อบกพร่องที่ร้ายแรง: ตาโปน ตาทั้งสองข้างคนละสี ตาสีฟ้า
หู (Ears)
ใบหูที่ระวังระไวและมีชีวิตชีวานั้นจะตั้งสูง อาจจะตัดหูหรือไม่ตัดหูก็ได้แล้วแต่ความชื่นชอบของแต่ละบุคคล ถ้าหูเป็นแบบธรรมชาติที่ซึ่งไม่ได้ตัดหูนั้น อาจจะพับครึ่งลงมาหรืออาจจะตั้งตรง หรือแบนเรียบ สำหรับหูที่กว้างเกินไปไม่เป็นที่ต้องการ
 คอ (Neck)
คอมีความยาวปานกลาง แข็งแรงและเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ เป็นเส้นโค้งพอเหมาะบรรจบกับหลัง คอค่อยๆกว้างออกจากจุดเชื่อมกะโหลกไปถึงไหล่ มีขนคอที่แน่นตึง ไม่มีเหนียง
ข้อบกพร่อง: คอสั้นมากและหนา คอเล็กหรือไม่แข็งแรง คอคล้ายกับแกะตัวเมีย มีเหนียง
 ส่วนหน้า (Forequarters)
กระดูกหัวไหล่ยาว กว้าง ที่เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ และอยู่ค่อนไปทางข้างหลัง กระดูกหัวไหล่นี้จะมีความยาวเกือบเท่ากับความยาวของกระดูกขาท่อนบน และกระดูกจะต้องอยู่ในมุมได้อย่างถูกต้อง ขาหน้าแข็งแรง และเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ข้อศอกอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับลำตัว เมื่อมองจากด้านหน้า ตำแหน่งของขาหน้าจะกว้างออกได้อย่างชัดเจน และตั้งฉากกับพื้นดิน กระดูกที่ติดกับกระดูกขาท่อนล่างของขาหน้านั้นจะสั้น แข็งแรง ตั้งตรง และมีความยืดหยุ่นได้เป็นอย่างดี เมื่อมองจากด้านข้าง กระดูกที่ติดกับกระดูกขาท่อนล่างของขาหน้านี้เกือบจะตั้งตรง
ข้อบกพร่อง: มีไหล่สูงหรือตั้งเกินไป ข้อศอกบิดงออย่างชัดเจน หรือติดกันจนเกินไป ขาในส่วนที่ต่อจากกระดูกขาท่อนล่างของขาหน้าจะอยู่ในระดับต่ำเกินไป ข้อเท้าสูง นิ้วเท้าหลบใน หรือโผล่ออกมามากเกินไป
 
    
 ลำตัว (Body)
ลำตัวใหญ่ กว้าง และมีลักษณะกลมและลึกลงมาตลอดลำตัวจนถึงบริเวณอก เพื่อใช้เป็นพื้นที่สำหรับหัวใจและปอด แต่ความกว้างของช่วงอกควรมีสัดส่วนที่พอดีกับความลึก คือความกว้างไม่มากกว่าความลึก ช่วงอกหน้าไม่ควรขยายมากเกินกว่าหัวไหล่ซี่โครงแผ่ขยายจากกระดูกสันหลัง และไปเชื่อมกับข้อศอก ประกอบกันเป็นรูปร่างลำตัวที่ดูลึก ส่วนบนโค้งลงเล็กน้อยจากตะโพก ถึงหลัง ช่วงท้องสั้น โค้งเล็กน้อยไปถึงส่วนบนของตะโพก ตะโพกลาดลงเล็กน้อย
ช่วงหลัง (Hindquarters)
ช่วงหลังแข็งแรง เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ และมีความกว้างอย่างเหมาะสมตะโพกมีสัดส่วนดีระหว่างทั้งสองด้าน และลึกจากกระดูกเชิงกรานถึงจุดอวัยวะเพศ กระดูก และ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อช่วงหลังสมดุลกับช่วงหน้า ขาท่อนบนหนาได้รูป เห็นกล้ามเนื้อได้อย่างชัดเจน เมื่อมองจากด้านข้างข้อเท้ามีส่วนโค้งที่ได้สัดส่วน และอุ้งเท้าหลังอยู่ในตำแหน่งดี และตั้งฉากกับพื้น เมื่อมองจากด้านหลัง อุ้งเท้าหลังตรงเป็นรูปขนาน
ข้อบกพร่อง: ช่วงหลังแคบและสั้น จากกระดูกเชิงกรานถึงอวัยวะเพศไม่มีกล้ามเนื้อ ข้อต่อตรงหรือเป็นเหลี่ยมมุมมากเกินไป ข้อเท้าเหมือนข้อเท้าวัว ขางอ
เท้า (Feet)
เท้ากลม มีสัดส่วนเหมือนสุนัขทั่วไป นิ้วเท้าโค้งคุ้มได้ขนาด อุ้งเท้าแข็งแรง และรองรับกันดี นิ้วเล็บส่วนเกิน(นิ้วติ่งหรือนิ้วหัวแม่มือ) อาจจะถูกกำจัดออกไปก็ได้
ข้อบกพร่อง: เท้าแบะ
 หาง (Tail)
หางอยู่ในตำแหน่งที่ต่อมาจากส่วนบน และเรียวลงล่าง เมื่อสุนัขอยู่ในอารมณ์ที่เป็นปกติ หางจะชี้ลงอยู่ในตำแหน่งระดับข้อเท้า เมื่อสุนัขเคลื่อนไหว หางจะอยู่ในระดับเส้นหลัง เมื่อสุนัขอยู่ในอาการตื่นเต้น หางจะยกขึ้น แต่ไม่ม้วนมากจนถึงหลัง
ข้อบกพร่อง: หางยาวกว่าระดับข้อเท้า
ข้อบกพร่องที่ร้ายแรง: หางม้วน หางงอ
ข้อห้ามที่ทำให้หมดสิทธิ์: หางพุ่ม
 ขน (Coat)
ขนมีลักษณะเป็นเส้นตรง สั้น เรียบติดตัว เป็นเงางาม เรียบ ละเอียด และการจัดวางของเส้นขนจะหยาบเพียงพอสำหรับที่จะป้องกันผิวหนังได้
ข้อบกพร่อง: ขนงอหยิก ม้วนเป็นคลื่น ขนบางไม่หนา
ข้อบกพร่องที่ร้ายแรง: ขนยาว
สี (Color)
สุนัขพันธุ์นี้จะออกมาในหลากหลายสีสัน จากสีครีมไปจนถึงสีดำ รวมทั้งเฉดสีน้ำตาลแกมเหลืองและสีแดง ลายเสือรูปแบบของลายซึ่งเราอาจจะเห็นในหลายๆเฉดสี ก็ยังเป็นที่น่าจับตาเป็นพิเศษ แต่ละสียังมีความแตกต่างกันอย่างมากมาย
ความสูงและน้ำหนัก (Height and Weight)
อเมริกันพิทบูลควรมีความแข็งแรงและความว่องไว ดังนั้นน้ำหนักและส่วนสูงไม่ค่อยจะมีความสำคัญซักเท่าไหร่ สัดส่วนที่พอดีของน้ำหนักและส่วนสูงนั้น น้ำหนักสำหรับสุนัขตัวผู้(ที่โตเต็มที่แล้ว) อยู่ระหว่าง35-60ปอนด์ น้ำหนักสำหรับตัวเมีย (ที่โตเต็มที่แล้ว) จะอยู่ระหว่าง30-50ปอนด์ หากสุนัขที่มีน้ำหนักไม่อยู่ในเกณฑ์นี้ก็ไม่เป็นไร แต่ว่าจะต้องไม่ผอมจนเกินไป หรือมีสัดส่วนน้ำหนักและส่วนสูงที่มากเกินไป
 ท่าทางการเดินและการวิ่ง (Gait)
อเมริกันพิทบูลเคลื่อนไหวด้วยความว่องไว มั่นใจ แสดงให้เห็นถึงความคาดหวังที่จะพบกับสิ่งใหม่ๆและน่าตื่นเต้น เวลาเดินเหยาะๆ ท่าเดินจะเรียบและมั่นคง เมื่อเคลื่อนไหว เส้นหลังคงระดับความโค้งเล็กน้อย แสดงถึงความอ่อนโยน เมื่อมองจากทุกด้าน ขามีการประสานกันเป็นอย่างดี เมื่อเร่งความเร็วขึ้น ขาจะเบนเข้าหากันที่จุดศูนย์กลางอย่างสมบูรณ์
ข้อบกพร่อง: ขาเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน ย่างก้าวของขามากเกินไป ขาพันกันไปมา ขาหลังเคลื่อนไหวใกล้หรือเกือบเตะขาหน้า การวิ่งหรือเดินที่เอียงข้าง
 ข้อห้ามในการตัดสิน (Disqualifications)
โมโหร้าย หรือมีความขี้อายมาก หูหนวกข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง หางพู่ สุนัขเผือก
ข้อสังเกต แม้ว่าความก้าวร้าวเป็นลักษณะหนึ่งของสายพันธุ์นี้ ผู้เลี้ยงควรทำตามนโยบาย/คำแนะนำของยูเคซี เนื่องจากยูเคซีมีประสบการณ์ถึงความขี้โมโหของสุนัขสายพันธุ์นี้เป็นอย่างดี
ที่มา http://www.ipitbulldog.com/about_arpbt.htm // ภาพประกอบ www.mypetcare.wordpress.com/

The American Pit Bull Terrier (APBT) is a medium-sized, solidly built, short haired dog whose early ancestors came fromEngland and Ireland. It is a member of the molosser breed group.


History

During the 19th century, England, Ireland, and Scotland began to experiment with crosses between bulldogs and terriers, looking for a dog that combined the gameness, speed, and agility of the terrier with the strength and athleticism of the bulldog.
In the late 19th century to early 20th century, two clubs were formed for the specific purpose of registering APBTs: the United Kennel Club and the American Dog Breeders Association. The United Kennel Club was founded in 1898, and was the first registry to recognize the breed, with the owner assigning the first number to his own APBT.
The dog was bred first to bait bulls and bears. When baiting bulls was deemed inhumane, ratting (a sport where a number of rats were placed in a pit for a specified time with the dog) and dog fighting became more popular. The APBT was used in both sports, and its prevalence in being put in pits with rats, or other dogs led to "pit" being added to its name. With time, the dogs became more commonly domesticated due to their loyalty, loving and gentle nature with their owners. In America, farmers and ranchers used their APBTs for protection, as catch dogs for semi-wild cattle and hogs, to hunt, and to drive livestock.The dog was used during World War I and World War II as a way of delivering messages on the battlefield.
Once a popular family dog in the United States, the American Pit Bull Terrier's popularity began to decline following World War II in favor of other breeds.

An early predecessor to the American Pit Bull Terrier
Though of the same family, the American Pit Bull Terrier diverges in appearance from the Staffordshire Bull Terrier, having fewer bulldog traits in the face and body. The American Pit Bull is medium sized, having a short coat and smooth well-defined muscle structure, but should never appear bulky or muscle-bound. Its eyes are round to almond shaped, and its ears are small to medium in length and can be natural or cropped. The tail is slightly thick and tapers to a point. The coat is glossy, smooth, short, and slightly stiff and can be any color. The breed ranges from a height of about 17 to 22 in (43 to 56 cm) at shoulders, females weigh between 30 and 50 lb (14 and 23 kg) and males weigh between 30 and 60 lb (14 and 27 kg).

Temperament

Pit Bulls are generally friendly, even around strangers. As with any dog breed, proper training and socialization at an early age is a must. According to the UKC, "aggressive behavior toward humans is uncharacteristic of the breed and highly undesirable" but "because most APBTs exhibit some level of dog aggression and because of its powerful physique, the APBT requires an owner who will carefully socialize and obedience train the dog."
American Pit Bull Terriers generally have a lot of energy and benefit from exercise and stimulation to channel their energy properly and avoid becoming frustrated, bored, or destructive.
From Wikipedia, the free encyclopedia