นกเค้าแคระ Glaucidium brodiei (collared owlet) เป็นนกเค้าที่มีขนาดเล็กที่สุดในประเทศไทย มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางเพียง 15 เซ็นติเมตรเท่านั้น และมีสีสันลวดลายกลมกลืนไปกับกิ่งไม้ทำให้สังเกตเห็นตัวได้ค่อนข้างยาก
นก เค้าแคระมีรูปร่างน่ารักน่ากอดเพราะมีลำตัวอวบอัด มีขนหนานุ่มปกคลุมอย่างหนาแน่น บริเวณคอก็มีขนอยู่อย่างหนาแน่นทำให้ดูเหมือนหัวอยู่ติดกับตัวโดยไม่มีคอ และมีหัวที่กลมโต หน้าแบน ตากลมโตสีเหลืองอยู่ด้านหน้าของใบหน้า ปากสั้นและปากบนโค้งงุ้มแหลมลงมาใช้สำหรับฉีกเหยื่อเป็นชิ้นๆ มีขนเส้นเล็กๆคล้ายหนวดแมวอยู่รอบๆโคนปากทำหน้าที่เป็นเรดาห์นำทาง มีปีกกว้างแต่ปลายปีกมน ขนหางยาวกว่านกเค้าอื่นๆ มีขาสั้นแต่เข็งแรงสีเหลืองนิ้วเท้าค่อนข้างใหญ่และแข็งแรง มีนิ้วเท้าสี่นิ้วเวลาเกาะกิ่งจะอยู่ด้านหน้า2ด้านหลัง2นิ้ว เล็บสีดำ
นก เค้าแคระทั้ง 2 เพศมีลักษณะและสีสันเหมือนกัน เมื่อมองจากด้านหลังนกเค้าแคระจะมีสีน้ำตาลเข้มสลับสีน้ำตาลอ่อนเป็นลายขวาง ขนหางก็สีสลับแบบนี้ดูเป็นบั้งๆ ด้านหน้ามีสีขาวและมีลายสีน้ำตาล หัวสีน้ำตาลมีลายจุดเล็กๆสีอ่อนเต็มไปหมด ด้านหลังของหัวนกเค้าแคระ จะมีเส้นสีเข้มพาดเป็นลักษณะเหมือนหน้าของนกเค้าทำให้ดูเหมือนกับว่าเป็น หน้าอีกหน้าหนึ่ง ช่วยหลอกตาศัตรูให้คิดว่าหันหน้ามาทางตัวเองได้
นก ตัวเล็กๆเป็นศัตรูกับนกเค้าแคระตัวจิ๋วนี้ เพราะอาหารของนกเค้านอกจากพวก กิ้งก่า หนู สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก จั๊กจั่น ด้วง และ ตั๊กแตน แล้ว ก็เป็นเหล่านกเล็กๆนี่เอง เมื่อเจอนกเค้าแคระที่ไหน นกเล็กๆจึงมักมารุมกันไล่จนบ่อยครั้งต้องขยับบินหนีไปเรื่อยๆ และไปเกาะซุ่มในกิ่งที่ชิดลำต้นเพื่อหาที่ซ่อนตัว ดักจับนกเล็กๆที่หลงเข้ามา นกเค้าแคระสามารถจับเหยื่อที่มีขนาดตัวพอๆกันหรือโตกว่าเล็กน้อยได้ด้วยกรง เล็บที่แข็งแรง โดยจะหาอาหารในช่วงกลางวันเป็นส่วนใหญ่ หากหากินกลางคืนก็มักเป็นคืนที่พระจันทร์เต็มดวงส่องสว่าง
นก เค้าแคระเป็นนกเค้าที่พบได้บ่อยที่สุดในบริเวณป่าดงดิบชื้น ตั้งแต่พื้นราบไปจนถึงระดับความสูง 3,050 เมตร จากระดับน้ำทะเล ในประเทศไทยจะพบบ่อยขึ้นที่ระดับสูงเกิน 600 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป บริเวณภาคใต้ และ คาบสมุทรมาลายู จะพบได้บ่อยมากในระดับสูง 395 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป เป็นนกที่มีการกระจายพันธุ์กว้างขวางมากในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ และจีนตอนล่าง
ข้อมูลจาก http://feeds.feedburner.com/blogspot/QSGOO